Thai Virtuoso สังคมแห่งนักดนตรี คลังความรู้ บทความต่างๆ เกี่ยวกับ ไวโอลิน Violin, เชลโล่ Cello

6/07/2553

การเลือกไวโอลิน, วิโอล่า, เชลโล่ รวมถึงคันชักของคนไทย

ในการเลือกไวโอลินก็ดี เชลโล่ก็ดี รวมถึงการเลือกคันชักนั้น

ส่วนมากเท่าที่เห็นในเมืองไทย ก็แบบว่าไม่มีความมั่นใจ หรือไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเราต้องการอะไรจากไวโอลิน, เชลโล่ หรือแม้กระทั่งเครื่องดนตรีอื่นๆก็ตาม ส่วนใหญ่ก็จะถามครูที่สอนอยู่ หรือจากเพื่อนๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งในบางครั้งก็เป็นการฟังข้อมูลที่ไม่ถูกซะทีเดียว

ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่ควรกระทำแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1. คุณภาพของงานในเครื่องดนตรีนั้น หรือที่เรียกว่า craftmanship สิ่งนี้จะบ่งบอกถึงคุณภาพ, การใช้งาน, การพัฒนาของไวโอลิน หรือเชลโล่ก็ตามในระยะยาว รวมถึงมูลค่าของเครื่องดนตรีนั้นด้วย แต่เราในฐานะคนเล่นจะสามารถรู้ได้อย่างไร ว่างานของไวโอลินตัวนั้น ตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในจุดนี้ก็ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ค่อนข้างลำบากเพราะหาค่อนข้างยากในเมืองไทย แต่ก็ไม่ไช่ไม่มีเลย (ถ้าอยากให้แนะนำว่าควรไปหาใครก็สามารถไป post ถามได้ที่ www.thaivirtuoso.com)

2. ลักษณะของเสียงที่เราชอบรวมถึงความสบายในการเล่นด้วย อันนี้เราสามารถบอกได้ด้วยตัวเอง แต่ในจุดนี้นั้น ราคาไม่ได้เป็นตัวชี้วัดแต่อย่างไดเลย รวมถึงความเห็นของคนอื่นด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ส่วนตัวได้ลองเปรียบเทียบคันชักสองอัน ระหว่าง คันชักไวโอลินทำโดย M.Peirera สัญชาติ บราซิลกับ คันชักไวโอลินทำโดย George Hoyer สัญชาติเยอรมัน พบว่า คันชักของ George Hoyer นั้นในเสียงทีหนาชัดเจน กว่าของ M.Peirera อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเล่นเทคนิค detache, staccato, รวมถึง spicato ด้วย แต่เมื่อเอาไปเล่นบทเพลงจริงนั้น M.Peirera กลับทำให้ผมถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงได้ดีกว่า และรู้สึกเล่นได้สบายกว่าทั้งที่ คุณภาพและคุณค่าของคันชัก George Hoyer ดีกว่ามาก

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเลือกไวโอลินอย่างไรสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ บทความนี้ เลือกซื้อไวโอลินอย่างไร?