Thai Virtuoso สังคมแห่งนักดนตรี คลังความรู้ บทความต่างๆ เกี่ยวกับ ไวโอลิน Violin, เชลโล่ Cello

6/27/2553

Amati Family จุดเริ่มต้นของการทำไวโอลินยุคใหม่

เรื่องราวของ Amati Family จุดเริ่มต้นของการทำไวโอลินยุคใหม่

มีเรื่องน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับช่างทำไวโอลินผู้หนึ่งที่ทำให้เรามีไวโอลินดีๆไว้ใช้ในทุกวันนี้
รวมทั้งเกร็ดความรู้ และรูปไวโอลิน และเชลโล่สวยๆ


ร้หรือไม่ ว่าไวโอลินและเชลโล่ที่มีสาย 4เส้นอย่างเช่นในปัจจุบันนี้นั้นมีการออกแบบ และสร้างเมื่อหลายร้อยปีก่อน และก็ยังคงมีการผลิตและใช้กันอยู่ในทุกวันนี้

สามารถติดตามได้ที่ http://www.thaivirtuoso.com/

6/15/2553

ส่วนต่างๆ ของ ไวโอลิน


1. Scroll - ส่วนนี้อยู่บนสุดของไวโอลิน เป็นส่วนตกแต่ง โดยมากทำด้วยมือ
2. Pegbox - เป็นจุดทำใส่เป็คใช้สำหรับตั้งเสียงไวโอลิน
3. Nut - เป็นส่วนที่ช่วยให้สายห่างจากฟิงเกอร์บอร์ด และก็ทำหน้าที่รองรับสาย
4. Strings - มีทั้งหมด 4 เส้น โดยแต่ละเส้นห่างกัน คุ่ 5 เพอร์เฟค
5. Bridge - สะพาน หรือที่เราชอบเรียกกันว่า หย่อง เป็นส่วนสำคัญ ที่มีผลกับเสียงของไวโอลินโดยตรง หย่องยังทำหน้าที่รองรับแรงตีงสาย ดังนั้น เมื่อเราเล่น แล้ว สายเกิดการสั่น ตัวหย่องเองก็จะสั่นไปด้วย
6. Fingerboard - เป็นแผ่นไม้ โดยมากทำมาจาก ไม้อีโบนี่ ซึ่งแปะอยู่บนคอของไวโอลิน นักไวโอลินสามารถปรับเปลี่ยนระดับเสียง หรือ Pitch โดยการกดสายลงไปบนฟิงเกอร์บอร์ด
7. Sounding Post - อยู่ข้างใต้หย่อง ทำหน้าที่รองรับแรงกดที่เกิดขึ้นภายในตัวไวโอลิน ซึ่งช่างซ่อมไวโอลินสามารถปรับเสียงของไวโอลินโดยการขยับ ซาวน์โพสต์
8. F Holes - นั้นอยู่ที่ส่วนกลางของตัวไวโอลิน ที่เราเรียกว่า เอฟ-โฮล์ด เพราะมันมีรูปร่างเหมือนตัวอักษร F นั้นเอง เป็นจุดที่เสียงออกมา ส่วนขนาดของ F hole นั้นก็มีผลกับเสียงของไวโอลิน
9. Tailpiece - ทำหน้าที่ช่วยยึดสาย และรักษาระยะห่างระหว่าง หย่อง ส่วนมากทำด้วย ไม้อีโบนี่ แต่ก็สามารถเปลี่ยนเป็น Box wood หรือ pernumbuco ได้ ซึ่งจะทำให้เสียงมีพลังและความสดใสมากขึ้น
10. Chin Rest - เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้นักไวโอลินสามารถถือไวโอลินได้ถนัดในขณะเล่น น้ำหนักของตัว chinrest เองก็มีผลต่อเสียงอยู่บ้าง ซึ่งยิ่งเบาก็น่าจะดีกว่า
รายละเอียดอื่นๆ ติดตามที่ www.thaivirtuoso.com

6/07/2553

การเลือกไวโอลิน, วิโอล่า, เชลโล่ รวมถึงคันชักของคนไทย

ในการเลือกไวโอลินก็ดี เชลโล่ก็ดี รวมถึงการเลือกคันชักนั้น

ส่วนมากเท่าที่เห็นในเมืองไทย ก็แบบว่าไม่มีความมั่นใจ หรือไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเราต้องการอะไรจากไวโอลิน, เชลโล่ หรือแม้กระทั่งเครื่องดนตรีอื่นๆก็ตาม ส่วนใหญ่ก็จะถามครูที่สอนอยู่ หรือจากเพื่อนๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งในบางครั้งก็เป็นการฟังข้อมูลที่ไม่ถูกซะทีเดียว

ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่ควรกระทำแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1. คุณภาพของงานในเครื่องดนตรีนั้น หรือที่เรียกว่า craftmanship สิ่งนี้จะบ่งบอกถึงคุณภาพ, การใช้งาน, การพัฒนาของไวโอลิน หรือเชลโล่ก็ตามในระยะยาว รวมถึงมูลค่าของเครื่องดนตรีนั้นด้วย แต่เราในฐานะคนเล่นจะสามารถรู้ได้อย่างไร ว่างานของไวโอลินตัวนั้น ตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในจุดนี้ก็ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ค่อนข้างลำบากเพราะหาค่อนข้างยากในเมืองไทย แต่ก็ไม่ไช่ไม่มีเลย (ถ้าอยากให้แนะนำว่าควรไปหาใครก็สามารถไป post ถามได้ที่ www.thaivirtuoso.com)

2. ลักษณะของเสียงที่เราชอบรวมถึงความสบายในการเล่นด้วย อันนี้เราสามารถบอกได้ด้วยตัวเอง แต่ในจุดนี้นั้น ราคาไม่ได้เป็นตัวชี้วัดแต่อย่างไดเลย รวมถึงความเห็นของคนอื่นด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ส่วนตัวได้ลองเปรียบเทียบคันชักสองอัน ระหว่าง คันชักไวโอลินทำโดย M.Peirera สัญชาติ บราซิลกับ คันชักไวโอลินทำโดย George Hoyer สัญชาติเยอรมัน พบว่า คันชักของ George Hoyer นั้นในเสียงทีหนาชัดเจน กว่าของ M.Peirera อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเล่นเทคนิค detache, staccato, รวมถึง spicato ด้วย แต่เมื่อเอาไปเล่นบทเพลงจริงนั้น M.Peirera กลับทำให้ผมถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงได้ดีกว่า และรู้สึกเล่นได้สบายกว่าทั้งที่ คุณภาพและคุณค่าของคันชัก George Hoyer ดีกว่ามาก

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเลือกไวโอลินอย่างไรสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ บทความนี้ เลือกซื้อไวโอลินอย่างไร?